![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
![]() |
|||||
|
|||||
![]()
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ฯ 2) การพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ 3) การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศฯ 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศฯ โดยเมื่อรูปแบบการนิเทศผ่านผู้เชี่ยวชาญได้นำมาทดลองใช้กับสถานศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบประเมินผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน แบบบันทึกผลการนิเทศฯ และแบบประเมินรูปแบบการนิเทศฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการนิเทศฯ ชื่อว่า เอ-พาเฌอ พลัส (A-PACER Plus) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หลักการ เงื่อนไขสำคัญ และองค์ประกอบของรูปแบบ โดยมี 6 องค์ประกอบ คือ 1. ขั้นเตรียมการก่อนการนิเทศ (Analysis : A) 2. ขั้นวางแผนและออกแบบการนิเทศ (Planning: P) 3. ขั้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติการนิเทศ (Acting : A) 4. ขั้นการนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring : C) 5. ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และ 6.ขั้นสะท้อนคิดหลังการนิเทศ (After Action Review : A) นอกจากนี้ยังน้อมนำหลักการทรงงานและศาสตร์พระราชาของ รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติจนได้ “พลัส” (Plus)ขึ้น ผลการใช้รูปแบบการนิเทศฯ พบว่า ผู้รับการนิเทศ สามารถการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน ได้ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 82.57 ส่วนผลการตรวจสอบพฤติกรรมการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 , 2.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 0.48
คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศ , ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน , การชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง
ABSTRACT
The results of the study revealed that there was a supervision model called A-PACER Plus. This model consisted of 3 main parts; principles, key conditions and elements of the model. which comprised of 1) analysis the current problem (Analysis: A) 2) planning and design the model (Planning: P) 3) learning and acting supervision (Acting: A) 4) supervision process by using coaching and mentoring: C) 5) evaluation the model (Evaluation: E) and 6) after action review: A). There was body of knowledge which was adaptation the guidance of King Rama 9 to be applied in each elements. This raised the optional of the model which called Plus. The results shown that the participants who had been supervised were able to process the students counseling ranged in more level which was 82.27. The result of behaviors of coaching and mentoring from supervisor and participants ranged in more level which mean was 2.63, 2.70 and the standard deviation was 0.55 and 0.48.
KEYWORDS: Supervision Model, Students Caring and Support Operation System, Coaching
and Mentoring
|
|||||
![]() |
|||||
ผู้ประกาศ : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา | ลงประกาศเมื่อ 08/พ.ค./2563 12:52:55 | ||||
![]() |
|||||
![]()
| ||||||||||||||||||
|