![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
![]() |
|||
|
|||
![]()
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงตาม
หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองคำวิทยาคม
ผู้วิจัย นายวสันต์ ลาจันทึก ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
ปีที่พิมพ์ 2562
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหนองคำวิทยาคม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียน สู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม (R1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 318 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียน หนองนาคำวิทยาคม (D1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม (R2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 318 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียน สู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมหลังการทดลองใช้รูปแบบซึ่งเป็นฉบับเดียวกันกับการศึกษาสภาพในระยะที่ 1 และแบบประเมินคุณลักษณะความพอเพียงของนักเรียนหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม (D2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 318 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมก่อนการทดลองใช้รูปแบบโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 โครงสร้างการบริหารงานของรูปแบบ ส่วนที่ 3 วิธีดำเนินงานของรูปแบบ และส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งในแต่ละส่วนมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้านผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ทั้ง 3 ด้าน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ค่าเฉลี่ยระดับสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียง เพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมโดยรวมและรายด้านหลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียน สู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) คุณลักษณะความพอเพียงของนักเรียนหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 5 ด้าน
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม พบว่า ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 3 ด้าน
โดยสรุปรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียง ของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นนวัตกรรมที่เป็นเลิศ มีคุณค่าต่อการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงเพื่อสร้างนักเรียนสู่ความพอเพียงของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุด
|
|||
![]() |
|||
ผู้ประกาศ : หนองนาคำวิทยาคม | ลงประกาศเมื่อ 29/ธ.ค./2563 09:45:30 | ||
![]() |
|||
![]()
| ||||||||||||||||||
|